ข้อมูลทั่วไป

view 38750 ครั้ง


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1. ด้านกายภาพ

          1.1  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

                       ตำบลห้วยชมภูเป็นตำบลที่มีอาณาเขตกว้างขวางมีพื้นที่ติดต่อกับหลายตำบล และเป็นเขตติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ตำบลเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ซึ่งยากต่อการประสานงาน และการติดต่อราชการของราษฎรในตำบล โดยมีอาณาเขต ดังนี้

                   ทิศเหนือ ติดต่อตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ , ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากแม่น้ำแม่สะลักไหลลงแม่น้ำกก บริเวณพิกัด เอน ซี 520156 ไปทางทิศตะวันออกตามร่องลึกแม่น้ำกก สิ้นสุดที่ห้วยแก่งหลวงไหลลงสู่แม่น้ำกก บริเวณพัด เอน ซี 687087 ระยะทางประมาณ  24  กิโลเมตร

                   ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลดอยฮาง,ตำบลป่าอ้อดอนชัย,ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย,ตำบลโปร่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากห้วยแก่งหลวงไหลลงแม่น้ำกก บริเวณพิกัดเอนซี 687087 ไปทางทิศใต้ตามลำห้วยปลาซอ และสันเขาจนถึงสันเขาแม่กรณ์บริเวณพิกัด เอน ซี 679015 ไปทางทิศใต้ตามสันเขาจนถึงห้วยหัวทุ่ง บริเวณพิกัด เอนซี 682958 ไปทางทิศใต้จนสิ้นสุดที่เนินเขาบ้านหนองผักเฮือก บริเวณพิกัด เอนซี 681858 ระยะทาง ประมาณ 25  กิโลเมตร

                    ทิศใต้ ติดต่อตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว , ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยมีแนวเขตเริ่มต้นตั้งแต่เนินบ้านหนองผักเฮือก บริเวณพิกัด เอน ซี 681858 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามเนินเขาจนถึงเนินเขาบ้านดอยตีนผี บริเวณพิกัด เอน ซี 658848 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามเนินเขาและห้วยส้านยาวสิ้นสุดที่ดอยล้าน บริเวณพิกัด เอน ซี 602876 ระยะทางประมาณ  8  กิโลเมตร

                      ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเยงราย , ตำบลแม่นาวาง อำเภอ
 แม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากสันเขาดอยล้าน บริเวณ พิกัด เอน ซี 602876 ไปทางทิศเหนือตามสันเขาดอยช้างจนถึงแนวเขตเริ่มต้นที่สันเขาดอยเกี๊ยะ บริเวณ พิกัด เอน ซี 609000 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามสันเขาดอยเกี๊ยะ ดอยชมภู จนถึงสันเขาดอยชมภู บริเวณ พิกัด 557073 ไปทางทิศตะวันตกไปตามสันเขาห้วยชมภูจนถึงสันเขาดอยซาง บริเวณ พิกัด เอน ซี 477091  ไปทางทิศเหนือตามสันเขาจนถึงห้วยแม่สะลักไปทางทิศเหนือตามห้วยแม่สะลักสิ้นสุดที่ห้วยแม่สะลักไหลลงสู่แม่น้ำกก บริเวณ พิกัด เอน ซี 502156 ระยะทางประมาณ  42  กิโลเมตร

1.2  ลักษณะภูมิประเทศ 

                  ตำบลห้วยชมภู ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมือง มีเนื้อที่ประมาณ259 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 161,875 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย ป่าแม่กกฝั่งขวาพื้นที่ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีลักษณะภูมิประเทศสูงกว่าระดับน้ำทะเล 500 – 1,600 เมตร อากาศเย็นทั้งปี

1.3  ลักษณะภูมิอากาศ

มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส หนาวจัดในพื้นที่ราบอุณหภูมิที่ 7-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0 - 5 องศา แบ่งออกเป็น 3 ฤดู

หน้าร้อน เริ่มเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 20.5 – 29.5 ๐ C

หน้าฝน เริ่มเดือนมิถุนายน – กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 19.5 – 27.5 ๐ C

หน้าหนาว เริ่มเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 8.5 – 19.5 ๐ C

1.4 ลักษณะของดิน

                  ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็น ดินลูกรังประมาณ 40 % เป็นดินเหนียวปนทรายประมาณ 40 %  เป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ 30%

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

                    มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค-บริโภค ส่วนใหญ่เป็นประปาภูเขา และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำห้วย น้ำตก ดังนี้
ลำห้วย 39 แห่ง แม่น้ำ 1 แห่ง
น้ำตก             3       แห่ง     ประปาภูเขา      11      แห่ง

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

                  ลักษณะของป่าไม้โดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา บริเวณที่อยู่ต่ำลงมาเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ส่วนพันธุ์ไม้ ได้แก่ก่อชนิดต่างๆจำปีป่ายางตะเคียนเต็ง และรัง 

2. ด้านการเมือง/การปกครอง

สภาตำบลห้วยชมภู เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2538 มีนายซาน พร่านเจริญกุล เป็นกำนันตำบลห้วยชมภู และเป็นประธานสภาห้วยชมภูคนแรก สภาตำบลห้วยชมภูมีเขตรับผิดชอบ 11 หมู่บ้าน ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 สภาตำบลห้วยชมภูได้ยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู ปี พ.ศ.2544 และได้มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู ดังต่อไปนี้
                 1 นายไพรวัลย์ ลิ่วสกุลฤดี ได้รับเลือกจากสภาให้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู ปี พ.ศ.2548

             2 นายนิคม สวัสดีชัยกุล ได้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู คนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง ปี พ.ศ.2551 

ได้มีการเลือกตั้ง นายไพรวัลย์ ลิ่วสกุลฤดี ได้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภูอีกครั้ง ปี พ.ศ. 2552 นางเรณู  ธรรมบัณฑิตได้รับเลือกให้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู และครบวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 หลังจากนั้น ปัจจุบันนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภูคือ นายประสิทธิ์ แซ่หมี่ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 จนถึงปัจจุบัน   

2.1 เขตการปกครอง

 อาณาเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู

ทิศเหนือจด  ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลแม่ยาว อำเภอ เมือง จังหวัดเชียงราย  

ทิศใต้จด ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว และตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 

ทิศตะวันออกจด ตำบลดอยฮาง,ตำบลป่าอ้อดอนชัย,ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

 ทิศตะวันตกจด ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และตำบลแม่นาวาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภูแบ่งเขตการปกครองดังนี้  

ตำบลห้วยชมภู มีจำนวนหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน ดังนี้

          หมู่ที่ 1 บ้านห้วยส้าน     ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุลีซู และอาข่า

          หมู่ที่ 2 บ้านแม่มอญ      ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุอาข่า และลีซู

          หมู่ที่ 3 บ้านห้วยแม่เลี่ยม ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุอาข่า และอิ้วเมี่ยน

          หมู่ที่ 4 บ้านผาลั้ง         ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุอิ้วเมี่ยน

          หมู่ที่ 5 บ้านกกน้อย       ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุลาหู่ และอิ้วเมี่ยน

          หมู่ที่ 6 บ้านห้วยชมภู     ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุอิ้วเมี่ยน และอาข่า

          หมู่ที่ 7 บ้านปางขอน       ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุอาข่า ลาหู่ และอิ้วเมี่ยน

          หมู่ที่ 8 บ้านห้วยแก้ว      ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุลาหู่

          หมู่ที่ 9 บ้านแม่สลัก     ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุลาหู่ และอิ้วเมี่ยน

          หมู่ที่ 10 บ้านจะคือ       ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุลาหู่

          หมู่ที่ 11 บ้านร่มเย็น    ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุอาข่า และลาหู่    

          หมู่ที่ 12 บ้านแสนต่อ    ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุลาหู่    

          หมู่ที่ 13 บ้านภูฟ้า    ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุอิ้วเมี่ยน                    

2.2 การเลือกตั้ง

        องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู ได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู จำนวน 1 คน และสมาชิกสภาท้องถิ่น หมู่บ้านละ 1 คน จำนวน 13 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 13 คน 

3. ประชากร

                    3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพ 2565)

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)



จำนวนครัวเรือน

1

บ้านห้วยส้าน

467

506

973



305

2

บ้านแม่มอญ

720

728

1,448



488

3

บ้านห้วยแม่เลี่ยม

591

601

1,192



517

4

บ้านผาลั้ง

528

465

993



382

5

บ้านกกน้อย

627

546

1,173



523

6

บ้านห้วยชมภู

606

576

1,182



584

7

บ้านปางขอน

553

561

1,114



456

8

บ้านห้วยแก้ว

514

512

1,026



382

9

บ้านแม่สลัก

311

314

625



302

10

บ้านจะคือ

541

543

1,084



346

11

บ้านร่มเย็น

613

625

1,238



337


รวม

6,062

5,951

12,013



4,602

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ต่ำกว่า 18

18 – 59

59 ปี ขึ้นไป

รวม

1

บ้านห้วยส้าน

195

480

77

752

2

บ้านแม่มอญ

423

692

183

1,298

3

บ้านห้วยแม่เลี่ยม

338

610

122

1,070

4

บ้านผาลั้ง

254

618

95

967

5

บ้านกกน้อย

280

612

108

1,000

6

บ้านห้วยชมภู

225

735

154

1,114

7

บ้านปางขอน

307

564

105

976

8

บ้านห้วยแก้ว

351

534

72

957

9

บ้านแม่สลัก

174

315

47

536

10

บ้านจะคือ

327

623

89

1,039

11

บ้านร่มเย็น

385

634

59

1,078


รวม

3,259

6,417

1,111

10,787


4. สภาพทางสังคม

4.1 การศึกษา

          1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู จำนวน 12 ศูนย์ ดังนี้

ที่

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเด็ก(คน)

จำนวนครู/ผดด./จ้างเหมา(คน)

1

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยส้าน

20

2

2

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่มอญ

66

4

3

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาลั้ง

19

2

4

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกกน้อย

20

2

5

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยชมภู

14

2

6

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปางขอน

31

2

7

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจะคือ

24

2

8

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร่มเย็น

31

2

9

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยแม่เลี่ยม

31

3

10

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแสนต่อ

17

2

11

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแก่งหลวงใน

17

2

12

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าลัน

18

1


          2. โรงเรียนสังกัด (สพฐ.) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู จำนวน 2 แห่ง ดังนี้

ที่

โรงเรียน

จำนวนเด็ก(คน)

1

โรงเรียนแม่มอญวิทยา

190

2

โรงเรียนบ้านห้วยแม่เลี่ยม

223

3

โรงเรียนบ้านผาลั้ง

18

4

โรงเรียนกกน้อยวิทยา

125

5

โรงเรียนบ้านห้วยชมภู

83

6

โรงเรียนบ้านปางขอน

124

7

โรงเรียนบ้านจะคือ

191


          3. โรงเรียนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู จำนวน 2 แห่ง ดังนี้


ที่

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

จำนวนเด็ก(คน)

1

กศน.บ้านป่าลัน

18

2

กศน.บ้านจะหา

14

หมายเหตุ : ข้อมูล  ณ  วันที่ 1 มิถุนายน 2562


      4.โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเทคนิคดุสิตสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน  แห่ง ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยส้าน

พลับพลับ หมู่ที่ 1 บ้านห้วยส้าน ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย   

          4.2 สาธารณสุข

                    หน่วยงานด้านสาธารณสุข

                -  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน  3   แห่ง ดังนี้

                            1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านห้วยชมภู

                             2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านปางขอน

                             3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านจะคือ

                   - อัตราการมีห้องน้ำห้องสุขาใช้ ร้อยละ 98

    4.3 อาชญากรรม

                    ในพื้นที่ตำบลห้วยชมภู ไม่ค่อยมีเหตุการณ์อาชญากรรมเกิดขึ้น จะมีแต่การลักขโมย ทรัพย์สิน ไม่มากนัก ซึ่งทางหมู่บ้านก็ได้ดำเนินการจับกุม ตักเตือน และลงโทษกันภายในหมู่บ้าน พร้อมกันนี้ในพื้นที่ตำบลห้วยชมภู ยังมีหน่วยงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ประจำทุกหมู่บ้าน เพื่อช่วยกันสอดส่องการลักขโมย และการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ และมีหน่วยงานที่ดูแลความปลอดภัย ดังนี้

                  1. กองบังคับการพื้นที่พิเศษ         จำนวน 1 แห่ง

                  2. ตู้ยามตำรวจ(ด่านตรวจ)         จำนวน 1 แห่ง

   4.4 ยาเสพติด

ปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่ตำบลห้วยชมภู นับว่าเป็นปัญหาระดับต้นๆของตำบล ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติด พยายามตัดตอนเส้นทางยาเสพติดในพื้นที่ให้เหลือศูนย์ และจัดอบรมเยาวชน กลุ่มเสี่ยง ไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

    4.5 การสังคมสังเคราะห์

                    องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู ได้ดำเนินการด้านสังคมสังเคราะห์ ดังนี้

1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ   และผู้ป่วยเอดส์  

2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ

4. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง   

5. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน (บ้านเทิดไท้ฯ)  

6. ช่วยเหลือ และประสานงาน คนไข้ในพระบรมราชินูปถัมภ์

5. ระบบบริการพื้นฐาน

        5.1  เส้นทางคมนาคม

เส้นทางคมนาคมภายในตำบล สภาพเส้นทางเดิมเป็นเส้นทางลำลอง สภาพเส้นทางเป็นทางถนนดินแดง ประกอบกับพื้นที่ตำบลห้วยชมภูเป็นภูเขาสูงและกว้าง เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเป็นอย่างมากทำให้ราษฎรได้รับความเดือนร้อนในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางติดต่อระหว่างหมู่บ้าน กับส่วนราชการอำเภอ จังหวัด ตลอดจนยากต่อการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นอย่างมาก ระยะทาง จากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภูถึงที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ  36 กิโลเมตร ระยะทางที่ห่างไกลจากอำเภอเมืองเชียงรายมากที่สุด ประมาณ  120 กิโลเมตร ซึ่งต้องผ่านอำเภอแม่อายจังหวัดเชียงใหม่การเดินทางเข้าในพื้นที่ตำบลห้วยชมภู สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ ทางเรือและทางรถยนต์

เส้นทางที่ 1 ระยะทางจากอำเภอเมืองเชียงราย ถึงหมู่ 1 บ้านห้วยส้าน ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร สายเด่นห้าถึงบ้านห้วยส้านพลับเพลา ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว ระยะทางประมาณ20 กิโลเมตร (ถนนลาดยาง) และเป็นถนนลูกรังเข้าสู่หมู่บ้าน 10 กิโลเมตร ถึงหมู่ที่ 1 , 2 (บ้านแม่มอญ)

                  เส้นทางที่ 2 ระยะทางจากอำเภอเมืองเชียงรายสายเด่นห้าถึงบ้านปางริมกรณ์ ตำบลแม่กรณ์ (ถนนลาดยาง) ประมาณ 35 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านแรกคือบ้านปางขอน หมู่ 7 และเป็นถนนลูกรังเข้าสู่หมู่บ้านหมู่ที่ 4 (บ้านผาลั้ง)ระยะทางประมาณ  10 กิโลเมตร โดยเส้นทางนี้ผ่านหมู่ 7 , 4 , 3 และ 11 จะใช้เส้นทางนี้ได้ในช่วงฤดูแล้ง ในช่วงฤดูฝนการคมนาคมบากมากเนื่องจากถนนมีความสูงชันและลื่นและคดเคี้ยว

                  เส้นทางที่ 3 จากอำเภอเมืองเชียงรายตามเส้นทางอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายผ่านตำบล
 ท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ถึงบ้านแม่สลัก หมู่ 9 ระยะทา  111 กิโลเมตร (เป็นถนนลาดยาง) ถ้าหากตรงไปจะไปบ้านห้วยชมภูหมู่ที่ 6 และถ้าหากแยกเข้าสู่หมู่บ้านจะคือ หมู่ 10 เป็นถนนดินแดงสลับถนนคอนกรีต ระยะทางประมาณ  9  กิโลเมตร และนอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยเรือ ออกจากท่าเรือเชียงราย ขึ้นไปตามลำน้ำกก เส้นทางนี้ ผ่าน หมู่ที่ 5,9,10  ในการเดินทางโดยทางเรือใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

  1. จำนวนถนน

1.1 ถนนลาดยาง     จำนวน 1 สาย

1.2 ถนนลูกรัง        จำนวน 10 สาย

1.3 ถนนคอนกรีต    จำนวน 15 สาย

       2.   จำนวนสะพาน

2.1 สะพานเหล็ก     จำนวน 1 แห่ง

2.2 สะพานคอนกรีต จำนวน ๕ สาย            

5.2 การไฟฟ้า

         1. จำนวนหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ 9 หมู่บ้าน แต่ยังไม่เต็มพื้นที่ ได้แก่ หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 หมู่ 6
 หมู่ 7 หมู่ 8  หมู่ 9 หมู่ 10 หมู่ 11 (มีไฟฟ้าใช้ไม่ครบทุกหย่อมบ้าน)

          2. จำนวนหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 4 บ้านผาลั้ง และหมู่ 5
 บ้านกกน้อย

          3. จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 3,460 ครัวเรือน

5.3 การประปา

การประปา ในเขตพื้นที่ตำบลห้วยชมภู เป็นระบบประปาภูเขา มีการวางระบบท่อส่งน้ำจากน้ำตก หรือ ลำธารมายังหมู่บ้าน และหย่อมบ้าน ทำให้มีน้ำใช้อุปโภค บริโภค ตลอดปี แต่ยังไม่เพียงพอ และขาดแคลนบางจุด สำหรับบ้านที่อยู่ปลายสาย ทางองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู ได้ดำเนินการจัดซื้อ และก่อสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีต สำหรับเก็บกับน้ำไว้ใช้ ช่วงหน้าแล้ง และได้ประสานขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานอื่น เช่น ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดซื้อถังพลาสติก ไว้เก็บน้ำใช้อุปโภค บริโภคด้วย

1. จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา 4,347ครัวเรือน

2. ประปาภูเขา  11  แห่ง

3. แหล่งน้ำทีใช้อุปโภค บริโภค ได้จาก แม่น้ำ ลำ

3. แหล่งน้ำทีใช้อุปโภค บริโภค ได้จาก แม่น้ำ ลำธาร ลำห้วย เป็นต้น

5.4 โทรศัพท์ 

          1. สามารถใช้สัญญาณโทรศัพท์ ของ AIS , TRUE และ Dtac ได้ แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

                  2. มีโทรศัพท์ประจำหมู่บ้าน  จำนวน ๑๓ แห่ง

5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

          องค์การบริหารส่วนตำบล ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ แต่มีตู้ ปณ. ๒๐๐ ประชาชนสามารถส่งเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งส่งของ พัสดุ 

6. ระบบเศรษฐกิจ

6.1 การเกษตร   

ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลห้วยชมภู ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยแยกเป็นกลุ่มเกษตรกร ดังนี้

                 - ลิ้นจี่           ประมาณ 16,000   ไร่   - ท้อ               ประมาณ       600   ไร่

                   - บ้วย             ประมาณ      200   ไร่   - กาแฟ  &

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น